👉การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ก่อนเข้าสู่ความเป็นอารยธรรม👈
ก่อนที่มนุษย์เราจะเริ่มมีความเจริญก้าวหน้าในเรื่องของเทคโนโลยี
ภาษา สังคม วัฒนธรรม รวมถึงแบบแผนในการดำรงชีวิตที่เราดำรงอยู่ในปัจจุบัน สิ่งเหล่านั้นย่อมมีจุดเริ่มต้นโดยเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
หรืออยู่ระหว่าง 2.5 ล้านปี ถึงประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์เริ่มรู้จักเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากธรรมชาติ
รู้จักปรับใช้และพัฒนาจนกลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีพ ในขณะเดียวกันมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ล้วนแล้วแต่มีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิถีชีวิต
สังคม เป็นต้น เนื่องมาจากความคิด ความเชื่อได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สามารถสรุปได้เป็น 3 ยุค ดังนี้
1. ยุคหินเก่า (Paleolithic Era) มนุษย์ในยุคนี้มีความเป็นอยู่แบบเร่ร่อน อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือเพิงผา ยังไม่มีที่อยู่อาศัยหรือที่ตั้งแบบถาวร ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ หาของป่า หรือเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ต้องพาธรรมชาติเป็นอย่างมาก
สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคนี้ มนุษย์รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือจากเศษหิน
เช่น เครื่องมือหินกะเทาะ ที่มีลักษณะหยาบ ใหญ่ หนาแต่ยังไม่มีการฝนให้เรียบ พบหอกไว้สำหรับล่าสัตว์ แหไว้หาปลา ธนูที่ทำจากไม้ และยังรู้จักการใช้ไฟสำหรับหุงต้มอาหารและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
พัฒนาการต่อมาคือ ศิลปะ ในยุคหินเก่าหลักฐานส่วนใหญ่เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ
เป็นรูปสัตว์ป่า เช่น วัวกระทิง กวางแดง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการแกะสลักในบริเวณถ้ำอีกด้วย
นอกจากนี้ในยุคหินเก่ามีการฝังศพหรือทำเป็นสุสาน
มีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย และมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่าง ๆ
ของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วย
2. ยุคหินใหม่ (Neolithic Era) เป็นยุคของการปฏิวัติเกษตรกรรม มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย โดยมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น มีการปลูกข้าวและพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ และเลี้ยงสัตว์หลายชนิดมากขึ้น เช่น แพะ แกะ และ วัว ซึ่งก็คงทั้งไว้ใช้งานและเป็นอาหาร เป็นความเจริญที่ทำให้ประชากรในยุคนี้รู้จักผลิตอาหารได้เอง เกิดการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนและทำการค้าขาย เกิดเป็นสังคมขนาดเล็กเกิดขึ้น มีการรวมกลุ่มกันและพัฒนาเป็นสังคมเกษตรกรรม
มนุษย์ยุคนี้มีความเจริญทางวัตถุหรือเครื่องมือเครื่องใช้
เริ่มมีการขัดฝนหินให้แหลมเงา มีความประณีต เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้สอยมากขึ้น
เช่น มีดหินซึ่งสามรถเฉือนวัตถุต่าง ๆ ได้ เป็นต้น
พัฒนาการทางด้านศิลปะ พบหลักฐานมากมายที่แสดงถึงความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม เช่น เครื่องปั้นดินเผาแสดงออกถึงความสามารถในการปั้นหม้อดินและใช้ประโยชน์ในการหุงต้มอาหารได้ มีเครื่องทอผ้า มนุษย์ในยุคหินใหม่มีการเรียนรู้รู้จักทอผ้าจากเส้นใยพืชสวมใส่เป็นเครื่องนุ่งห่มและทอเป็นเชือกทำเป็นแหหรืออวนจับปลา นอกจากนี้ยังพบคันไถสำหรับใช้งานการเกษตรอีกด้วย
3. ยุคอารยธรรม (The First Cities and Civilizations) หรือเรียกง่าย ๆ ว่ายุคของการเข้าสู่สังคมเมืองและก่อเกิดเป็นอารยธรรม ในยุคนี้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก สังคมมีการขยายใหญ่ขึ้น มีการวางผังเมืองและแบ่งพื้นที่สำหรับใช้สอย มีการสร้างชลประทานเพื่อกักเก็บน้ำและอาหาร ถือเป็นผลผลิตที่เกินความต้องการถูกนำไปให้กลุ่มชนชั้นสูงและยังสามารถนำใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ การขยายตัวของสังคมในยุคนี้ทำให้ผู้คนประกอบอาชีพที่หลากหลาย หรือเรียกว่า เกิดแรงงานเฉพาะพิเศษ(กลุ่มอาชีพ) ซึ่งถูกแบ่งไปตามความถนัดของแต่ละบุคคล เช่น ช่างฝีมือ ฯลฯ เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการขยายตัวของอารยธรรม และมีความซับซ้อนทางสังคมที่ชัดเจนโดยมีการแบ่งชนชั้นทางสังคม เช่น กลุ่มผู้ปกครอง(ขุนนาง นักรบ นักบวช), กลุ่มพ่อค้า, กลุ่มเกษตรกร และทาส
ที่มา : http://www.ngwk.ac.th/web/social/em-orn/west-culture/page1.htm
สำหรับเครื่องเครื่องใช้และศิลปะในยุคอารยธรรม มนุษย์ยุคนี้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เกิดการกระจายกรรมวิธีในการทำเกษตรกรรมไปทั่วโลก อันแสดงถึงการพัฒนาความสามารถทางความคิดด้วยการมีความสามารถนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
กรรมวิธีมีความยุ่งยากมากขึ้นจากเดิม
เช่น การถลุงแร่ การขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยการตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์
เป็นต้น ซึ่งนอกการรู้จักใช้เหล็กและสำริดแล้วยังมีการประดิษฐ์การตัวอักษรหรือเขียน
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิถีชีวิต
สังคม และความเชื่อได้ถูกสั่งสมจนก่อเกิดเป็นอารยธรรมในเวลาต่อมา ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวช่วยสร้างความมั่นคงให้กับสังคมมากขึ้น
สรุป จากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากยุคหินเก่า
ยุคหินใหม่ จนเข้าสู่ความเป็นอารยธรรมที่กล่าวไปแล้วข้างต้นเห็นถึงความแตกต่างของแต่ละยุคโดยแบ่งเป็น
3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
- วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งเริ่มแรกนั้นยุคหินเก่ามนุษย์มีความเป็นอยู่แบบเร่ร่อน ล่าสัตว์หาของป่า ไม่มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงถาวร ในขณะที่ยุคหินใหม่และยุคอารยธรรม มนุษย์ได้มีการตั้งรกรากที่มั่นคง มีชุมชนและการกลุ่มกันทำการค้าขาย และมีอาชีพเกษตรกรรม จนเข้าสู่ความเป็นอารยธรรมเกิดความหลากหลายทางอาชีพและชนชั้นทางสังคมที่ซับซ้อน รวมทั้งมีการวางผังเมือง มีการจัดระเบียบพื้นที่ใช้สอยและมีการปกครองเป็นส่วน ๆ
- เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ มนุษย์ในยุคหินเป็นยุคที่ยังไม่มีความประณีตหรือขัดฝนหินให้เป็นรูปร่างลักษณะเหมือนยุคหินใหม่ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคอารยธรรมทุกสิ่งทุกอย่างถูกพัฒนา เครื่องมือเครื่องใช้มีความทนทาน แข็งแรงมากขึ้น มีการใช้เหล็กและสำริด รวมทั้งมีการประดิษฐ์อักษร
- ศิลปะ ซึ่งทั้ง 3 ยุค เริ่มมีพัฒนาการจากการขีดเขียนตามฝาผนังถ้ำในยุคหินเก่า
จนไปสู่การรู้จักปั้นเครื่องปั้นดินเผา รู้จักการทอผ้าซึ่งเกิดในช่วงหินใหม่ และเมื่อเข้าสู่การเป็นสังคมเมือง
ศิลปะต่าง ๆ มีความสวยงามและขนาดใหญ่มากขึ้น
ไม่ได้เป็นเพียงศิลปะตามฝาผนังแต่มีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และไว้สำหรับทำประโยชน์ในด้านต่าง
ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น