การทบทวนงานเขียนเกี่ยวกับดินแดน 3 วัฒนธรรม อำเภอสังขละบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน
โดย
วรัญญา คลื่นแก้ว 603080524-4
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทนำ
สังขละบุรี เป็นอำเภอที่สำคัญอำเภอหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี
ถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงทางด้านการท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
วัฒนธรรม และประเพณี เรียกได้ว่าเป็นดินแดนแม่น้ำ 3 สาย สหาย 3 วัฒนธรรม ซึ่งประกอบไปด้วย ชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยง และชาวไทยแท้ ทัศนียภาพโดยรวมของ
สังขละบุรี ถูกล้อมด้วยขุนเขา มี แม่น้ำซองกาเลีย
ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศพม่าไหลผ่าน เป็นส่วนหนึ่งของวิถีริมแม่น้ำสองฝั่ง
เชื่อมชนชาติมอญทั้งไทยและพม่าไว้ด้วยกัน แม่น้ำซองกาเลีย เป็นชื่อเรียกภาษามอญ
แปลเป็นไทยว่า “ฝั่งโน้น” เป็นแม่น้ำสายที่แบ่งเขตแดนอำเภอสังขละบุรีออกเป็นสองฟาก
ฝั่งหนึ่งคือตัวอำเภอ
เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการและบรรดาที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว
ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนไทยพูดภาษากลาง ส่วนอีกฝั่งหนึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวมอญ
ทั้งที่ตั้งรกรากมานานนับร้อยปี และที่เพิ่งอพยพมาอยู่ใหม่ สังขละบุรี
จึงกลายเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม
และมีชาวมอญตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ที่สังขละบุรีมีสะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานโครงเหล็กสีดำเป็นเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์
สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของกาญจนบุรี
ซึ่งทุกวันนี้ยังคงใช้งานเดินรถไฟตามปกติ รวมถึงรถไฟขบวนท่องเที่ยวพิเศษ
ชาวต่างชาตินิยมมาเที่ยว
จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นที่มาที่ทำให้ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทบทวนงานเขียนที่เกี่ยวกับดินแดน
3 วัฒนธรรม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน และเพื่อทราบถึงข้อบกพร่องในการทำวิจัยเรื่องนี้
โดยผู้ศึกษาได้ใช้วิธีศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหลากหลายประเภท ได้แก่ งานวิจัย บทความ
หนังสือ สื่อวีดีทัศน์ วิทยานิพนธ์ โดยมีมาจากฐานข้อมูลออนไลน์ ได้แก่
ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiJO) ฐานข้อมูล Thailis และเว็บไซต์ Youtube โดยใช้คำสามัญในการสืบค้นแหล่งข้อมูล
คือ คำว่า สังขละบุรี ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมชิ้นงานทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 58
ชิ้นงาน โดยมีแบ่งเป็นงานประเภทหนังสือ 9 ชิ้นงาน
บทความวารสาร 17 ชิ้นงาน วิทยานิพนธ์ 2 ชิ้นงาน งานวิจัย 1 ชิ้นงาน และสื่อวีดีทัศน์ 29
ชิ้นงาน จากนั้นแบ่งประเด็นการนำเสนอออกเป็น
3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นงานศึกษาที่เป็นเอกสาร
ประเด็นงานศึกษาที่เป็นสื่อวีดีทัศน์ และสรุปและข้อเสนอแนะ
1. งานศึกษาจากเอกสาร
จากการศึกษาพบงานศึกษาจากเอกสารท้ังหมด
29 ชิ้นงาน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ งานที่ให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์ และโบราณคดี งานศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของสังคม 3 วัฒนธรรม
งานศึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับด้านสังคม วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรี งานศึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆและการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีชุมชนสังขละบุรี
และงานที่ให้ข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวของเมืองสังขละบุรี
โดยเนื้อหาชิ้นงานแต่ละกลุ่มสามารถสรุปได้ดังนี้
1.1.
งานที่ให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์ และโบราณคดี
จากการทบทวนวรรณกรรมงานที่ให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
และโบราณคดี พบชิ้นงานทั้งหมด 5 ชิ้นงาน ประกอบด้วย หนังสือ 3
ชิ้น และบทความ 2 ชิ้น ดังนี้
ลำดับ
|
ชื่อผู้แต่ง
|
ชื่อเรื่อง
|
ปีที่พิมพ์
|
ประเภท
|
1
|
วรวุธ สุวรรณฤทธิ์
|
ประวัติศาสตร์เมืองกาญจนบุรี
|
2543
|
หนังสือ
|
2
|
วรวุธ สุวรรณฤทธิ์
|
กาญจนบุรี ดินแดนตะวันตก
|
2545
|
หนังสือ
|
3
|
สมัย สุทธิธรรม
|
กาญจนบุรี มณีแห่งลุ่มน้ำแคว
|
2548
|
หนังสือ
|
4
|
ยุวดี
จิตต์โกศล
|
Sustainable
Cultural Heritage Conservation : Sangkhlaburi District, Kanchanaburi Province
|
2555
|
บทความวารสารศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
|
5
|
วรพจน์ หิรัณยวุฒิกุล
|
เมืองกาญจนบุรี(เก่า):ลักษณะรูปแบบเมืองหน้าด่านจากหลักฐานทางโบราณคดี
|
2556
|
บทความวารสารดำรงวิชาการ
|
ตัวอย่าง งานประเภทเอกสาร
สรุป จากการทบทวนวรรณกรรมงานศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของสังคม
3 วัฒนธรรม พบว่างานศึกษาที่ค้นพบมีประเด็นเนื้อหาแตกต่างกัน
โดยงานศึกษาชิ้นแรก ชือเรื่อง “จากเมาะละแหม่งสู่สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี” เป็นงานศึกษาที่เน้นศึกษาการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนมอญ
โดยเล่าถึงความเป็นมา การอพยพ
สาเหตุของความเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาวสังขละบุรี ส่วนงานศึกษา ชิ้นที่ 2 เรื่อง
“วิถีชีวิต ความเป็นมากะเหรี่ยง” เป็นงานศึกษาที่เน้นศึกษาการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวกะเหรี่ยงเท่านั้น
ซึ่งเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยของสังขละบุรี โดยทั้ง 2 ผลงานสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมา
จุดกำเนิดดั้งเดิมของแต่ละกลุ่มคนที่สังขละบุรี สำหรับเนื้อหาที่ยังขาดหาย คือ
งานที่ศึกษากลุ่มคนทั้งหมดในสังขละบุรี ซึ่งได้แก่ คนมอญ คนกะเหรี่ยง และคนไทย
โดยเน้นศึกษาภาพรวม จุดกำเนิดดั้งเดิม และสาเหตุการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสังขละบุรี
1.3.
งานศึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับด้านสังคม
วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรี
จากการทบทวนวรรรกรรมงานศึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับด้านสังคม
วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรี พบทั้งหมด 13 ชิ้นงาน
ประกอบด้วย หนังสือ 2 ชิ้น บทความ 10 ชิ้น
และวิทยานิพนธ์ 1 ชิ้น สามารถสรุปได้ดังนี้
ลำดับ
|
ชื่อผู้แต่ง
|
ชื่อเรื่อง
|
ปีพิมพ์
|
ประเภท
|
1
|
สหัส วรรณสิทธิ์
|
ผ้าขาวม้าร้อยสีกับเจ็ดของดีเมืองกาญจน์
|
2543
|
หนังสือ
|
2
|
ณัฐกานต์ บุญศิริ
|
การแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง :
กรณีศึกษารำตงบ้านใหม่พัฒนา
อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
|
2548
|
วิทยานิพนธ์
|
3
|
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง และประภาศรี
ดำสะอาด
|
ที่นี่...ที่บ้านวังกะ
ฝั่งวัดวังก์ฯ
|
2550
|
บทความวารสาร
ภาษาและวัฒนธรรม
|
4
|
วนิดา พรหมบุตร
|
วงชะพูชะอู :
ดนตรีประกอบการแสดงชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
|
2552
|
บทความวารสารศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
|
5
|
อภิชาติ ทัพวิเศษ
|
วงก่วนกว๊าดมอญ : ดนตรีชุมชนมอญ
บ้านวังกะ หมู่ 2 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
|
2553
|
บทความวารสารศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
|
6
|
จรัญ กาญจนประดิษฐ์
|
ดนตรีในพิธีกรรมผูกข้อมือเรียกขวัญชาวกะเหรี่ยง
|
2555
|
บทความวารสารดนตรีรังสิต
|
7
|
ญาณี เพลิงพิษ
|
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและสถานการณ์ปัจจุบัน
กรณีศึกษา: ชุมชนมอญสังขละบุรี
จ.กาญจนบุรี
|
2560
|
บทความวารสารวิชาการ
Veridian E-Journal
|
8
|
อัญชัญ ตัณฑเทศ
วาสินี ไกวพัน และคณะ
|
การศึกษาสภาพวัฒนธรรมมอญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มมอญในอำเภอสังขละบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
|
2560
|
บทความวารสารกระแสวัฒนธรรม
|
9
|
อัญชัญ ตัณฑเทศ
และอังสุมาลิน จำนงชอบ
|
การท่องเที่ยวเพื่อสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาทางอาหารของกลุ่มวัฒนธรรม
ตามชายขอบ จังหวัดกาญจนบุรี
|
2560
|
บทความวารสารกระแสวัฒนธรรม
|
10
|
ภควดี ทองชมภูนุช และพัชรินทร์
ลาภานันท์
|
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์:
อัตลักษณ์ชาติพันธุ์มอญและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ.
|
2561
|
บทความวารสารJournal
of Mekhong Societies
|
11
|
มานพ วิสุทธิแพทย์
|
การศึกษาพิธีกินข้าวใหม่และดนตรีในพิธีกินข้าวใหม่
ของชนเผ่ากะเหรี่ยง หมู่บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
|
2561
|
บทความวารสารInstitute
of Culture and Arts Journal
|
12
|
พระมหาณัฏฐ์ สติเวปุลโล และขันทอง
วัฒนะประดิษฐ์
|
การศึกษาวิเคราะห์สันติวัฒนธรรมของชาว กะเหรี่ยงโปว์: กรณีศึกษาหมู่บ้านสะเน่พ่อง
ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
|
2562
|
บทความวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์
มจร
|
13
|
ฟ้อน
เปรมพันธุ์ , จักกฤช โพธิ์แพงพุ่ม,
สุพรรณี โพธิ์แพงพุ่ม และจุไรรัตน์ เพียงโงก
|
ภูมิปัญญากะเหรี่ยงกาญจนบุรี
|
ม.ป.ป.
|
หนังสือ
|
สรุป จากการทบทวนวรรณกรรมงานศึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับด้านสังคม วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรี พบว่าผลงานแต่ละผลงานที่ค้นพบมีเนื้อหาในการนำเสนอแตกต่างกัน แบ่งได้ดังนี้ งานที่ให้ข้อมูลด้านสังคม วัฒนธรรม และประเพณีของสังขละบุรีในรูปแบบภาพรวม ต่อมาคือ งานที่ให้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมของชาวมอญ การแสดงพื้นบ้านของชาวมอญ ความเชื่อและการดำรงชีวิตในแบบดั้งเดิมของชาวมอญ และงานศึกษาที่เน้นวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยง เช่น พิธีกรรมผูกข้อมือของชาวกะเหรี่ยง การแสดงพื้นบ้าน และอาหารหารกินของกลุ่มคนดังกล่าว สรุปภาพรวมจากการทบทวนวรรณกรรมด้านสังคม วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรีเป็นประเด็นที่มีข้อมูลที่หลากหลายและน่าสนใจเป็นอย่างมาก ข้อมูลครบถ้วนทั้งเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนมอญ คนกะเหรี่ยง อาหาร การแต่งกายที่มีเอกลักษณ์ในแต่ละที่ ภาษา วิถีชีวิตและความเชื่อ รวมถึงการรับอิทธิพลจากศาสนาพุทธเข้ามาผสมผสานในแต่ละวัฒนธรรมของชาวสังขละบุรี
1.4. งานศึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆและการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีชุมชนสังขละบุรี
จากการทบทวนวรรณกรรมงานศึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆและการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีชุมชนสังขละบุรี
พบทั้งหมด 4 ผลงาน ประกอบด้วย บทความทั้งหมด 4 บทความ สามารถสรุปได้ดังนี้
ลำดับ
|
ชื่อผู้แต่ง
|
ชื่อเรื่อง
|
ปีที่พิมพ์
|
ประเภท
|
1
|
ณัชชา สกุลงาม
|
ปัจจัยในการตั้งถิ่นฐาน
และพลวัติของสถาปัตยกรรม พื้นถิ่นเรือนแพชุมชนพหุวัฒนธรรม: ชุมชนแพสะพานรันตี
ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
|
2554
|
บทความวารสารหน้าจั่ว
|
2
|
นักศึกษาหลักสูตรปฏิบัติการจิตวิทยา
ฝ่ายอำนวยการรุ่นที่ ๑๑๐
|
“สังขละบุรี โมเดล” รูปแบบความร่วมมือในการพัฒนา ข้ามแดน (Cross
Border Development) เพื่อมุ่งสู่ ประชาคมอาเซียน :
ศึกษากรณีการพัฒนาร่วม ไทย-พม่า โดยนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาใช้เป็นเครื่องมือ
|
2556
|
บทความวารสารสถาบัน วิชาการป้องกันประเทศ
|
3
|
ณัฐพงค์
แย้มเจริญ
|
จากสะพานอุตตามนุสรณ์ถึงสะพานไม้ไผ่ลูกบวบ
: ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชุมชน ไทย-มอญสองฝั่งแม่น้ำซองกาเลียที่เปลี่ยนแปลง
|
2557
|
บทความวารสารเกษมบัณฑิต
|
4
|
ฐิตารีย์ โกมะ และชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง
|
การเปลี่ยนแปลงประเพณีการแต่งงานของชาวมอญ บ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
|
2559
|
บทความวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
|
สรุป จากการทบทวนวรรณกรรมงานศึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆและการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีชุมชนสังขละบุรี พบว่าเป็นประเด็นที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีชีวิตของคนสังขละบุรีที่ต้องตั้งรับกับการพัฒนาที่รวดเร็ว
ความทันสมัย การนำเอาวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาในสังคม
การปรับตัวตามสังคมปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชนของคนที่นี้
เป็นประเด็นที่ให้ข้อมูลในหลากหลายมิติ
ซึ่งไม่เพียงแค่ศึกษาปัญหาแต่ยังศึกษาและให้ข้อมูลการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ข้อมูลในด้านนี้ผู้ศึกษาคิดว่าสามารถนำไปต่อยอดและวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ซึ่งประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหายังเป็นประเด็นขาดหายไป
และควรมีการศึกษาและทำการวิจัยเพิ่มเติม
1.5. งานที่ให้ข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวของเมืองสังขละบุรี
จากการทบทวนวรรณกรรมงานที่ให้ข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวของเมืองสังขละบุรีพบทั้งหมด 5 ผลงาน ประกอบด้วย หนังสือ 4 ชิ้น และวิทยานิพนธ์ 1 ชิ้น สามารถสรุปได้ดังนี้
ลำดับ
|
ชื่อผู้แต่ง
|
ชื่อเรื่อง
|
ปีที่พิมพ์
|
ประเภท
|
1
|
กองบรรณาธิการนายรอบรู้
|
“นายรอบรู้” นักเดินทาง : กาญจนบุรี
|
2553
|
หนังสือ
|
2
|
อินทุอร
รัตนบรรพต
|
แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอำเภอสังขละบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
|
2553
|
วิทยานิพนธ์
|
3
|
นวพล เลาหสวัสดิ์
|
ขับรถเที่ยวเมืองกาญจน์
|
2554
|
หนังสือ
|
4
|
นิกข์นิภา สหัสโยธิน
|
เที่ยวกาญจนบุรี ชิล กิน ช็อป ครบทุกแนว
|
2555
|
หนังสือ
|
5
|
บีวาว แฟมิลี่
|
กาญจนบุรี free style
|
2556
|
หนังสือ
|
ตัวอย่าง งานประเภทเอกสารที่ค้นพบ
ผู้แต่ง กองบรรณาธิการนายรอบรู้ (2553) |
สรุป จากการทบทวนวรรณกรรมงานที่ให้ข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวของเมือง สังขละบุรี
พบว่า งานส่วนใหญ่ให้ข้อมูลไปในรูปแบบเดียวกัน คือ
ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในสังขละบุรีและอำเภออื่นๆในจังหวัดกาญจนบุรี
ข้อมูลการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร รวมทั้งกิจกรรมต่างๆสำหรับนักท่องเที่ยว
ถ้าหากจะทำการศึกษาต่อยอดในเรื่องการท่องเที่ยวผู้ศึกษาคิดว่าควรเพิ่มสิ่งที่แปลกใหม่
สิ่งที่คนรู้จักน้อยแต่มีความโดเด่นเพิ่มเข้าไป จะทำให้งานดูน่าสนใจ และไม่ซ้ำใคร
2. งานศึกษาจากสื่อวีดีทัศน์
จากการทบทวนวรรณกรรมนอกจากจะพบงานเอกสารจำนวนมากแล้ว
ยังมีงานประเภทสื่อวีดีทัศน์ รวมทั้งสิ้น 22
ชุด 29 วีดีทัศน์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มได้ทั้งหมด 4
กลุ่ม ได้แก่ สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านประวัติสาสตร์
และความเป็นมาของสถานที่สำคัญในสังขละบุรี สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านสังคม
วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรี สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการปรับตัวทางวิถีชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
และสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวในสังขละบุรี
2.1.
สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านประวัติสาสตร์
และความเป็นมาของสถานที่สำคัญในสังขละบุรี
จากการศึกษางานประเภทสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านประวัติสาสตร์
และความเป็นมาของสถานที่สำคัญในสังขละบุรี พบสื่อวีดีทัศน์จำนวน 2 วีดีทัศน์ ได้แก่ รายการของ TNN ช่อง 16
(2559) ชื่อ เรื่องมีอยู่ว่า : ด่านเจดีย์สามองค์ เป็นวีดีทัศน์ที่บอกเล่าเกี่ยวกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมา
ของสถานที่สำคัญและเป็นที่เคารพสักการะของชาวสังขละบุรีนั้นก็คือ
ด่านเจดีย์สามองค์ นำเสนอโดยการสัมภาษณ์ผู้รู้ในชุมชน คือ
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพระเจดีย์สามองค์ ซึ่งเล่าถึงความสำคัญของเจดีย์ว่า
ด่านเจดีย์สามองค์ เดิมเรียกว่า หินสามกอง เป็นสถานที่สักการะของคนไทยโดยทั่วไป
ก่อนจะเดินทางออกจากเขตประเทศไทยเข้าสู่เขตแดนพม่าแต่ครั้งโบราณกาล ต่อมาในปี พ.ศ.2472
พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีของไทย
ได้เป็นผู้นำชาวบ้านก่อสร้างเป็นเจดีย์สมบูรณ์ ดังที่อยู่ในปัจจุบัน
รายการของช่อง NOW26
(2559) ชื่อ "สังขละบุรี" เมืองแห่งมนต์เสน่ห์ เป็นวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์
เรื่องราว ประวัติ และความเป็นมาของสถานที่ต่างๆในสังขละบุรีเป็นส่วนใหญ่
โดยมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ดำเนินรายการและพาชมสถานที่สำคัญๆ เช่น
วัดศรีสุวรรณ เป็นสถานที่เก่าบอกเล่าประวัติสังขละบุรี
เมื่อครั้งที่เป็นอยู่ก่อนจมน้ำ ในช่วงการปกครองของพระศรีสุวรรณองค์ที่ 5 ได้ย้ายที่ทำการเมืองลงตั้งที่บ้านวังกะ
พื้นที่นี้เหมาะแก่การตั้งเมืองมากเพราะมีแม่น้ำที่ไหลมาบรรจบกันถึงสามสาย
และสะดวกกับการเดินทางติดต่อกับภายนอก นอกจากนี้ยังมีวัดวังก์วิเวการาม วัดสมเด็จ
ซึ่งแต่ละที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสังขละบุรี
สรุป จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านประวัติสาสตร์
และความเป็นมาของสถานที่สำคัญในสังขละบุรี พบว่า
สื่อที่นำเสนอในด้านนี้มีค่อนข้างน้อย
ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสนใจในเรื่องการท่องเที่ยว และประเพณี
วัฒนธรรมในสังขละบุรีมากกว่า เพราะสังขละบุรีถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
จากการศึกษาสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านสังคม
วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรี พบทั้งหมด 14 วีดีทัศน์
ดังนี้
ลำดับ
|
ผู้ผลิต
|
รายการ
|
ปีที่เผยแพร่
|
1
|
Thairath
|
วิถีชีวิตคนมอญ
|
2557
|
2
|
ข่าวช่อง 8
|
ชาวมอญที่สังขละบุรีเข้าวัดจำศีลตามธรรมเนียมสงกรานต์มอญ
|
2558
|
3
|
ThaiPBS
|
ทั่วถิ่นแดนไทย
: วิถีชาวมอญ ชุมชนอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยรามัญ สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
|
2558
|
4
|
NEWS 18
|
ประเพณีสงกรานต์มอญสังขละบุรี
|
2559
|
5
|
ThaiPBS
|
ทีวีชุมชน :
ลอยเรือเมืองมอญ
|
2559
|
6
|
TNN ช่อง16
|
เรื่องนี้มีอยู่ว่า
: ทานาคา บ้านมอญ สังขละบุรี
|
2559
|
7
|
NOW26
|
ตามตำนาน
เอกลักษณ์แห่งศรัทธา “สงกรานต์มอญสังขละบุรี”
|
2560
|
8
|
NEW18
|
วิถีชีวิตชุมชนชาวมอญ
สังขละบุรี
ตอนที่ 1 - 2
|
2560
|
9
|
TNN 24
|
ลุยสยาม ตอน
สัมผัสวิถีชาวมอญสังขละบุรี
|
2560
|
10
|
MCOT HD
|
ชาวไทยเชื้อสายมอญสังขละบุรีแห่ปราสาทผึ้งสงกรานต์
|
2561
|
11
|
MCOT HD
|
วัฒนธรรมนำวิถีสุขภาพของชาวบ้านที่สังขละบุรี
|
2561
|
12
|
ททบ. ช่อง 5
|
บันทึกการท่องเที่ยว
สังขละบุรี
ตอนที่ 1 - 4
|
2561
|
13
|
ช่อง 33 HD
|
ดินแดนแม่น้ำ 3 สาย สหาย 3 วัฒนธรรม ที่ชุมชนบ้านมอญวังกะ จ.กาญจนบุรี
|
2561
|
14
|
ThaiPBS
|
เก๋ายกก๊วน:วัยเก๋าสัมผัสวิถีชาวมอญ
อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
|
2561
|
สรุป จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านสังคม
วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรี พบว่า ประเด็นดังกล่าวถูกนำมาเสนอมากที่สุด
สะท้อนให้เห็นถึงสังคม วัฒนธรรมและประเพณีของชาวสังขละบุรีที่เป็นดินแดน 3 วัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน
มีความหลากหลายทางพหุสังคม
และยังพบว่าส่วนใหญ่รูปแบบการนำเสนอใช้การสัมภาษณ์คนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน
ซึ่งบุคคลดังกล่าว คือ คุณอรัญญา เจริญหงส์สา เป็นเลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลวังกะ
จะเห็นได้ว่าเกือบจะทุกรายการ ข้อมูลที่นำเสนอมาจากบุคคลเดียวกัน
ข้อมูลที่นำเสนอค่อนข้างน่าเชื่อถือ
และนำเสนอถึงความเป็นสังขละบุรีได้อย่างลึกซึ้ง
2.3.
สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการปรับตัวทางวิถีชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
จากการศึกษาสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการปรับตัวทางวิถีชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
พบสื่อวีดีทัศน์เพียง 1 ชิ้น ได้แก่ รายการของ Thai PBS News (2558) ชื่อ
ชาวสังขละบุรีปรับตัวรับนักท่องเที่ยวหลังสะพานอุตตมานุสรณ์ซ่อมเสร็จ เป็นวีดีทัศน์ที่นำเสนอถึงความเปลี่ยนแปลงของชุมชนชาวมอญในสังขละบุรี
เห็นได้จากบ้านเรือนที่ปลูกสร้างด้วยไม้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวสังขละบุรี
แต่ปัจจุบันถูกดัดแปลงเป็นร้านค้าจำนวนมาก เริ่มมีการเอาวัฒนธรรมจากข้างนอกเข้ามาในชุมชน
เกิดการก่อสร้างที่พัก รีสอร์ท ที่ไว้สำหรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชนของสังขละบุรี
สรุป จากการศึกษาสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการปรับตัวทางวิถีชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
พบว่า เป็นประเด็นที่พบน้อยมาก และถ้าหากนำไปต่อยอด
เพิ่มมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่ได้จากการทำงานวิจัยลงไป
จะเป็นผลงานที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว
2.4.
สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวในสังขละบุรี
จากการทบทวนวรรณกรรมสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวในสังขละบุรี
พบทั้งหมด 5 วีดีทัศน์ ดังนี้
ลำดับ
|
ผู้ผลิต
|
รายการ
|
ปีที่เผยแพร่
|
1
|
NOW26
|
โลกใบใหม่ ตอน
สังขละบุรี
|
2558
|
2
|
GMMTV
|
เทยเที่ยวไทย The Route ตอน 250
เที่ยวกาญจนบุรี ไม่มีเบื่อ ที่อำเภอสังขละบุรี
|
2559
|
3
|
ข่าวช่อง 8
|
ปากท้องพาตะลุย
ตอน "เที่ยวสังขละบุรี ซึมซับธรรมชาติ สัมผัสชีวิตสโลว์ไลฟ์"
ปากท้องต้องรู้
|
2560
|
4
|
ข่าวช่อง 8
|
ปากท้องพาตะลุย
ตอน "ถนนคนเดิน สังขละบุรี" ปากท้องต้องรู้
|
2560
|
5
|
Chill channel
|
5 จุดเช็คอินชวนสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งสังขละบุรี
|
2562
|
สรุป จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวในสังขละบุรี พบว่า
ที่สังขละบุรีถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุณค่าแก่การไปเที่ยวเป็นอย่างมาก
เพราะแต่ละสถานที่ที่นำเสนอยังคงความเป็นสังขละบุรีไว้ได้อย่างดี
เป็นสถานที่ที่ไม่เหมือนที่ไหน มีความหลากหลายทางสังคม วัฒนธรรม
และเอกลักษณ์ทางการแต่งกาย รวมทั้งภาษาท้องถิ่น
สื่อวีดีทัศน์นำเสนอสังขละบุรีได้หลากหลายมิติ มีข้อมูลของสถานที่แต่ละที่
และแนะนำสถานที่ที่สำคัญได้อย่างครบถ้วน
แต่ยังมีเนื้อหาที่ยังไม่มีความแตกต่างกันมากนัก
ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบในการนำเสนอให้มีความแปลกใหม่มากขึ้น
3.
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
จากการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นในหัวข้อ เรื่อง
การทบทวนงานเขียนเกี่ยวกับดินแดน 3
วัฒนธรรม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน
ผู้จัดทำได้แบ่งประเภทงานที่ค้นพบออกเป็น 2 ประเภท คือ
งานศึกษาที่เป็นเอกสาร และงานศึกษาที่เป็นสื่อวีดีทัศน์ จากการศึกษาพบว่า
ประเด็นงานศึกษาที่เป็นเอกสารที่ค้นพบมากที่สุด คือ งานศึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับด้านสังคม
วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรี พบทั้งหมด 13 ชิ้นงาน
รองลงมา คือ งานที่ให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และโบราณคดี
และงานที่ให้ข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวของเมืองสังขละบุรี
พบทั้งหมด 5 ชิ้นงาน และประเด็นที่พบน้อยที่สุด คือ
งานที่ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆและการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีชุมชนสังขละบุรี
พบทั้งหมด 4 ชิ้นงาน ส่วนงานประเภทสื่อวีดีทัศน์
ประเด็นงานศึกษาที่ค้นพบมากที่สุด คือ สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านสังคม
วัฒนธรรม และประเพณีของชาวสังขละบุรี รองลงมา คือ
สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวในสังขละบุรี
สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านประวัติสาสตร์
และความเป็นมาของสถานที่สำคัญในสังขละบุรี และสุดท้าย คือ สื่อวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการปรับตัวทางวิถีชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ตามลำดับ
งานที่ผู้จัดทำค้นพบมีการนำเสนอข้อมูลในหลากหลายด้าน
ทำให้เข้าใจมุมมองใหม่ๆของสังขละบุรี รวมทั้งผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชน
และนำเสนอถึงความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมออกมาได้เป็นอย่างดี
โดยมีผลงานของคุณวรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ผู้แต่งหนังสือ เรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองกาญจนบุรี
ปี พ.ศ.2543 เป็นผลงานที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับการศึกษาในครั้งนี้
เนื่องจากผลงานชิ้นนี้ถือเป็นต้นฉบับของผลงานในหลายๆผลงาน
เห็นได้จากสื่อวีดีทัศน์ได้มีการหยิบยกเนื้อหาทางด้านประวัติศาสตร์
ทำเลที่ตั้งของสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีมานำเสนอ
และยังมีผลงานของคุณสุจริตลักษณ์ ดีผดุง และประภาศรี ดำสอาด ผู้เขียนบทความเรื่อง
จากเมาะละแหม่งสู่สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ถือเป็นผลงานทางด้านวัฒนธรรม
ประเพณีของชาวมอญในสังขละบุรีที่มีการนำไปใช้อ้างอิงในผลงานอื่นๆรวมทั้งสื่อวีดีทัศน์ด้วยเช่นกัน
จากการศึกษายังมีบางประเด็นที่ค้นพบค่อนข้างน้อยและควรทำการศึกษาเพิ่มเติม คือ
ประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงของวิถีชุมชนสังขละบุรีที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และไม่ซ้ำกับผลงานชิ้นอื่นๆ
ข้อเสนอแนะ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่อง
การทบทวนงานเขียนเกี่ยวกับดินแดน 3 วัฒนธรรม อำเภอสังขละบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นเพียงองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาผ่านงานเอกสารวิชาการเป็นหลัก เช่น หนังสือ
บทความวิชาการ งานวิจัย ฯลฯ ซึ่งมาจากฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiJO) และเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Youtube ยังมีแหล่งสืบค้นข้อมูลที่สำคัญหลายแห่งที่ผู้ศึกษายังไม่ได้ทำการสำรวจ
เช่น ห้องสมุดต่างๆในมหาวิทยาลัยอื่นๆ เป็นต้น
และการสำรวจต้องมีเวลามากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและหลากหลาย
สำหรับข้อเสนอแนะต่องานที่ศึกษา
ในประเด็นความเป็นมาของผู้คนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสังขละบุรียังมีเนื้อหายังไม่สมบูรณ์มากเท่าที่ควรและงานที่ค้นพบมีค่อนข้างน้อย
ดังนั้นควรเพิ่มประวัติ ความเป็นมาของผู้คนให้มากขึ้น
เพื่อให้เข้าใจและง่ายต่อการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น